วันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิธีการค้นหาข้อมูล


ห้องสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่




การหาวิทยานิพนธ์ งานวิจัย 
วรรณกรรมประเภทวิทยานิพนธ์ และงานวิจัย เป็นข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่อาจนับได้ว่าสำคัญที่สุดในการศึกษาวรรณกรรม ด้วยเป็นสิ่งที่จะบ่งชี้ว่า มีใครทำงานวิจัยในเรื่องที่ผู้วิจัยกำลังสนใจอยู่หรือไม่  หากมี มีการศึกษาอย่างไร ที่ไหน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำวิจัยที่ซ้ำซ้อน หรือศึกษาต่อยอดงานวิจัยในเรื่องที่เคยมีผู้ทำวิจัยไว้แล้ว
เพื่อให้การตรวจสอบวรรณกรรมประเภทวิทยานิพนธ์และงานวิจัยเป็นไปอย่างครอบคลุม ท่านควรตรวจสอบหรือหาวรรณกรรมประเภทวิทยานิพนธ์จาก 5 ช่องทาง ซึ่งสามารถตรวจสอบได้โดยผ่านโฮมเพจของสำนักหอสมุด จากช่องทางการสืบค้น ดังนี้
           ช่องทางที่ 1 CMUL QPAC
          เป็นระบบการสืบค้นหนังสือทั่วไป รวมถึงสิ่งพิมพ์ประเภทวิทยานิพนธ์ด้วย ในการสืบค้น  หากรายการใดเป็นวิทยานิพนธ์
          ท่านสามารถดูได้จากเลขเรียกหนังสือ จะมีอักษรย่อ 
"ว" หรือ ว/ภน" อยู่ก่อนหน้าเลขหมู่ หากรายการใดมีสถานภาพ "อยู่บนชั้น"
          ให้ท่านจดเลขหมู่นั้นไว้ และนำไปหาตัวเล่มที่ชั้น 3 ของสำนักหอสมุด (อาคารใหม่)
                       
หรือที่ห้องสมุดคณะที่ปรากฏตามรายการ หากรายการใด ปรากฏข้อความลิงค์ ดังนี้

                       
          แสดงว่ารายการนั้นเป็นวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สำนักหอสมุดนำเอกสารมาสแกนทั้งเล่ม ให้คลิกที่ข้อความนั้น เพื่อเข้าสู่การอ่าน
          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็มรายการนั้นได้โดยตรง (ให้บริการเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
          ในสังกัดรัฐทุกแห่ง)  สามารถอ่านและบันทึกข้อมูลทั้งหมดลงใน
 Handy Drive
           สำนักหอสมุดให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ที่ห้อง Online Database ชั้น 2
           (สำนักหอสมุด อาคารใหม่ -- ใช้บัตรนักศึกษาหรือบัตรสมาร์ทการด์) หรือห้องบริการ World Wide Web ชั้น 1
           (ใช้ user name/ password ที่ศูนย์บริการเทคโนโลยีออกให้)
      ช่องทางที่ 2 ฐานข้อมูล CMU e - Theses
จากหน้าโฮมเพจของสำนักหอสมุดภายใต้แถบฐานข้อมูล จะปรากฏลิงค์  เมื่อคลิกที่แถบนี้ จะปรากฏฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ มีวิธีการสืบค้น ดังนี้วิธีการสืบค้น 
                      
ท่านสามารถพิมพ์ ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง หรือคำสำคัญลงในช่องพิมพ์คำสืบค้น การกำหนดคำค้นต้องสัมพันธ์กับเขตข้อมูลที่เลือก หรืออาจใช้
การค้นแบบไล่เรียงตามสาขาวิชา( Subject Browse) จากนั้นให้คลิกที่แถบ Search  เมื่อได้รายการที่ค้นพบแล้ว สามารถอ่านเอกสารได้โดยคลิกที่ข้อความ Full Text
                      
ช่องทางที่ 3  Dissertation Full Text in PDF format  
จากหน้าโฮมเพจของสำนักหอสมุดภายใต้แถบฐานข้อมูล จะปรากฏไอคอน  เมื่อคลิกที่แถบนี้ จะปรากฏฐานข้อมูล ให้เลือกDissertation Full Text in PDF format  ซึ่งให้บริการวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม จำนวน 3,850 ชื่อ ของนักศึกษาในระดับปริญญาเอก และปริญญาโทจากสถาบันการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา  ครอบคลุมตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ถึงปัจจุบัน สามารถสืบค้นและอ่านเอกสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์ได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อกับระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยของรัฐในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทั้ง 75 แห่ง                  วิธีการสืบค้น
                   

                   
   ช่องทางสืบค้นขั้นสูง

                    
การแสดงรายการและการอ่านวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มใน Dissertation Full Text

                  
      ช่องทางที่  4 ProQues Dissertation & Theses 
เป็นแหล่งสำหรับตรวจสอบวรรณกรรมประเภทวิทยานิพนธ์ของสถาบันการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และยุโรปบางประเทศ  ซึ่งเป็นฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ที่ใหญ่ที่สุด ประมาณ 2  ล้านกว่ารายการครอบคลุมทุกสาขาวิชา มีข้อมูลตั้งแต่ ค.ศ. 1861 ถึงปัจจุบัน ข้อมูลจากฐานข้อมูลนี้ แสดงรายละเอียดเฉพาะบรรณานุกรมและบทคัดย่อ ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 เป็นต้นมา จะอนุญาตให้อ่านวิทยานิพนธ์เฉพาะ 24 หน้าแรก
วิธีการสืบค้น จากโฮมเพจสำนักหอสมุด ที่แถบฐานข้อมูล  ให้เลือกที่ไอคอo Reference Databasesและเลือกฐานข้อมูล ProQues Dissertation & Theses  
      การสืบค้นด้วยแถบเครื่องมือ Basic
                
                      
                     
         
การสืบค้นด้วยแถบเครื่องมือ Advanced
                 
                       

การสืบค้นด้วยแถบเครื่องมือ Browse 
                  
                        
               สามารถเลือกดูรายการวิทยานิพนธ์ทั้งหมดภายใต้หัวข้อเรื่อง (By Subject) และ ภายใต้ชื่อประเทศ ( By Location)
        การแสดงผลรายการที่ค้นได้

                  
                          เมื่อคลิกดูบทคัดย่อ ข้อมูลจะแสดงรายละเอียด ดังนี้

                          
ช่องทางที่  5  Digital Collection
ThiaLis Digital Collection หรือ TDC เป็นแหล่งสำหรับตรวจสอบวรรณกรรมหลายประเภททั้งบทความ หนังสือหายาก รวมทั้งวิทยานิพนธ์ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 75 แห่งในประเทศไทย  ครอบคลุมทุกสาขาวิชา อนุญาตให้อ่านวิทยานิพนธ์ ฉบับเต็มได้เกือบทุกสถาบัน สามารถสืบค้นและอ่านเอกสารได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยของรัฐในสังกัดสำนักงานการอุดมศึกษาทุกแห่ง
วิธีการสืบค้น
จากไอคอน Digital Collection ท่านจะเข้าสู่หน้าหลักของ TDC  ซึ่งมีช่องทางให้สืบค้นได้หลายช่องทาง ดังนี้
1. การดูรายการทั้งหมดแบบไล่เรียงตามลำดับตัวอักษร สามารถให้แสดงรายการจากหัวเรื่อง ชื่อเรื่อง และชื่อผู้แต่ง และเลือกอักษรที่ต้องการให้เริ่มต้น ดังตัวอย่างหน้าจอหลักและวิธีการสืบค้น TDC การแสดงรายการทั้งหมดให้เลือก ( Browse)
              

              

              
วิธีการสืบค้น TDC
เมื่อคลิกที่แถบเครื่องมือ Basic Search หรือ Advance Search ระบบจะปรากฏช่อง และทางเลือกต่างๆ ไดแก่ ช่องสำหรับพิมพ์คำค้น เขตข้อมูลที่ต้องการให้คำค้นปรากฏ ซึ่งต้องเลือกให้สัมพันธ์กับคำค้นที่พิมพ์ลงไป  สถาบันที่ต้องการ (ซึ่งอาจเลือกทุกสถาบัน)ประเภทเอกสารที่ต้องการ ซึ่งมีหลายประเภท (อาจเลือกทุกประเภทได้)  หลังจากนั้นจึงคลิก

         
            การแสดงผลการสืบค้น ของ TDC

                     

                     

                     
                     การอ่านเอกสาร จะต้องยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน และเลือก Server                    

แหล่งอ้างอิง : http://library.cmu.ac.th/rsc/index.php?writereport.php&contid=8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น